เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ เครือข่ายอืน และเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ทุกวัน จะใช้อินเตอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่
สายสัญญาณสื่อกลางอาจเป็นสายเช่าพิเศษ เช่น Leased Line, ISDN เป็นต้น
อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ Router ซึ่งทำหน้าที่เป็น Gateway สู่อินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ Router ทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือเน็ตเวิร์กของหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะต่อไปยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISP) เนื่องจากว่า ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กของหน่วยงานนั้นก็จะสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
สำหรับจุฬาลงกรณ์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของหน่วยงานที่ใช้วิธีเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรง แต่มีข้อแตกต่างอยู่ประการหนึ่งคือจุฬา ฯมีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ตเอง ดังนั้นการเชื่อมต่อจึงไม่ต้องผ่าน ISP
จุฬา ฯมีเน็ตเวิร์กของตนเองชื่อ ChulaNet มี Gateway ของตนเอง คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเน็ตเวิร์กของจุฬาฯสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาทั้ง 24 ชั่วโมง เวลาที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็เพียงแต่ผู้ใช้หรือนิสิตมาที่จุฬา ฯและเข้าใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเน็ตเวิร์กของจุฬา ฯ แล้วก็สามารถติดต่อใช้อินเตอร์ได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น